วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

รายงานผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาจากวัสดุในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ชั้นอนุบาลปีที่ 2

ชื่อเรื่อง              รายงานผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาจากวัสดุในท้องถิ่น 
    เพื่อพัฒนาความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  ชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้รายงาน           นางสาวเยาวลักษณ์  สุริยนต์
ปีการศึกษา         2559

บทคัดย่อ

            รายงานผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาจากวัสดุในท้องถิ่น  เพื่อพัฒนาความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  ชั้นอนุบาลปีที่ 2  มีจุดมุ่งหมายเพื่อ  1)  หาประสิทธิภาพการ
จัดกิจกรรมเกมการศึกษาจากวัสดุในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  ชั้นอนุบาลปีที่  2  โรงเรียนเรณูวิทยาคาร  อำเภอเรณูนคร  จังหวัดนครพนม  ตามเกณฑ์มาตรฐาน  80/80  2) เปรียบเทียบการพัฒนาความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเรณูวิทยาคาร อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาจากวัสดุในท้องถิ่น  เครื่องมือที่ใช้ คือ เกมการศึกษาจากวัสดุในท้องถิ่น  จำนวน 51 เกม  แผนการจัดประสบการณ์จำนวน 51 แผน  และแบบทดสอบความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  จำนวน 20 ข้อ  สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และค่าทีชนิดไม่เป็นอิสระจากกัน  (t-test  for dependent samples)
                 ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
                        1. ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาจากวัสดุในท้องถิ่น  
เพื่อพัฒนาความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเรณูวิทยาคาร อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 พบว่า มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 96.6/87.5 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 

                      2. เปรียบเทียบการพัฒนาความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาจากวัสดุในท้องถิ่น พบว่า หลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาจากวัสดุในท้องถิ่น มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาจากวัสดุในท้องถิ่น  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รูปแบบการปฏิบัติการที่เป็นเลิศ (Best Practies) : โครงงานดอกไม้หลากสี

1.  ชื่อผลงาน  โครงงานดอกไม้หลากสี
2.  ชื่อผู้นำเสนอผลงาน นางสาวเยาวลักษณ์  สุริยนต์ 
    ที่อยู่  โรงเรียนเรณูวิทยาคาร 1  หมู่ที่ 2  ตำบลเรณู  อำเภอเรณูนคร  จังหวัดนครพนม
    อีเมล์  newjazzz@gmail.com
3.  หลักการเหตุผล/ความเป็นผล
     วัยเด็กนี้เป็นวัยที่สนใจและต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ  ชอบสังเกต  สนทนาซักถาม  ค้นคว้าทดลองเพื่อหาคำตอบให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ตนเองสงสัย  สอดคล้องกับ  กระทรวงศึกษาธิการ. (2546 ความนำ) ที่กล่าวว่า  เด็กอายุ 3-5 ปี  เป็นวัยที่ร่างกายและสมองของเด็กกำลังเจริญเติบโต เด็กต้องการความรัก ความเอาใจใส่ ดูแลอย่างใกล้ชิด  เด็กวัยนี้มีโอกาสเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้สำรวจ เล่น ทดลอง  ค้นพบด้วยตนเอง ได้มีโอกาสคิดแก้ปัญหา  เลือก ตัดสินใจ  ใช้ภาษา  สื่อความหมาย  คิดริเริ่มสร้างสรรค์ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข 
          ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเด็กๆ ได้ทำการทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่อง  อินดิเคเตอร์จากพืช เด็กๆ มีความสนใจในกิจกรรมนี้  ที่นำกะหล่ำปลีสีม่วงมาหั่นแล้วแช่ในน้ำเย็น  และน้ำร้อน  ได้น้ำสีน้ำเงินและสีม่วง  แล้วหยดน้ำมะนาว  น้ำโซดาลงไป  ทำให้น้ำกะหล่ำปลีเปลี่ยนสีไป  เด็กๆ ตื่นเต้น  และสนใจเป็นอย่างมาก  ทำให้มีเด็กๆ หลายคนสงสัยว่า   นอกจากผักที่เปลี่ยนสีแล้ว  ดอกไม้จะสามารถเปลี่ยนสีได้หรือไม่  ถ้าเปลี่ยนจะเปลี่ยนเป็นสีอะไร  จึงเป็นที่มาของการจัดโครงการดอกไม้เปลี่ยนสี  เพื่อให้เด็กได้ค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง 
          ดังนั้น  เพื่อให้ไขข้อสงสัยนักเรียนและครูจึงร่วมกันจัดโครงงานดอกไม้หลากสี  เพื่อทดลอง  ค้นคว้าหาคำตอบ  ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  เด็กๆ จะได้รับประสบการณ์ตรงจากการทดลอง  นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เด็กรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น  การรอคอยตามลำดับก่อน – หลัง  การสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัว  การมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
4.  วัตถุประสงค์
1.  เพื่อให้เด็กๆ สังเกตและบอกการเปลี่ยนแปลงสีของน้ำดอกไม้ได้
2.  เพื่อให้เด็กๆ เกิดทักษะในการทดลอง
          3.  เพื่อให้เด็กๆ รู้จักรอคอยตามลำดับก่อน – หลัง
4.  เพื่อให้เด็กๆ สนทนา  แสดงความคิดเห็น  ตอบคำถาม
   5.  แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
          หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546
          เอกสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์แบบโครงงาน
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
6.  การดำเนินงาน/กระบวนการ/วิธีการปฏิบัติ
ขั้นตอนการทำโครงงาน
          ระยะเริ่มต้นโครงงาน
เด็กๆ และครูร่วมกันสนทนาประสบการณ์เดิมจากกการทดลองในกิจกรรมอินดิเคเตอร์จากพืชๆ  และสนทนาเกี่ยวกับดอกไม้ที่เด็กๆ รู้จัก  และสีของดอกไม้  เด็กๆ ออกมาเล่าเกี่ยวกับดอกไม้ที่อยู่ที่บ้านของตนเองให้เพื่อนและครูฟัง  แบ่งกลุ่มเป็น 3  กลุ่ม  ให้เด็กๆ นำดอกไม้มาจากบ้าน  ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองที่มารับเด็กๆ ตอนเย็นให้เตรียมดอกไม้  เพื่อใช้ในการทำกิจกรรม

บันทึกการสนทนาระหว่างเด็กกับครู
ครู          “ดอกไม้ที่เด็กๆ รู้จักมีดอกอะไรบ้าง  สีอะไรคะ”
น้องโอเว่น  “ดอกกุหลาบ  สีแดงครับ”
น้องไกด์    : “บ้านหนูมีเยอะเลย  ทั้งดอกกุหลาบ  สีแดง  ดอกชวนชม  ชมพู – ขาว 
                  ดอกโป้ยเซี๋ยน  สีชมพูนิดๆ  ดอกดาวเรือง  สีเหลือง”
น้องตั้งโอ๋   “บ้านหนูมีดอกเฟื่องฟ้า  สีชมพูคะ”
ครู          “เด็กๆ ติดว่าดอกไม้ที่เด็กบอกคุณครู  เวลาคั้นจะมีสีไหมค่ะ”
         น้องไกด์    “ไม่มีคะ”
         น้องเมย์     “มีคะ”
ครู          “พรุ่งนี้เด็กๆ คนไหนมีดอกไม้ให้เตรียมดอกไม้มาจากบ้านด้วยนะค่ะ”

          ระยะดำเนินการ
          1.  เด็กและครูทัศนศึกษาชมดอกไม้รอบๆ โรงเรียน
2.  สนทนาเกี่ยวกับดอกไม้ที่เด็กๆ เตรียมมา  เกี่ยวกับสี  กลิ่น  ครูใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กๆ คาดเดาน้ำของสีดอกไม้ก่อนทำการทดลอง
          3.  เด็กๆ แบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มละ 4-6  คน  ออกมาเลือกดอกไม้ที่เด็กๆ นำมาจากบ้าน  ได้แก่ 
ดอกกุหลาบ  ดอกดาวเรือง  ดอกเฟื่องฟ้า
          4.  เด็กๆ ทดลองหยดสาร  3  ชนิด  กับน้ำดอกไม้วันละ 1 ประเภท  ได้แก่  ดอกกุหลาบ
ดอกดาวเรือง  ดอกเฟื่องฟ้า  เรียงตามลำดับ  ก่อนการทดลองครูใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กๆ คาดเดาน้ำดอกไม้ที่คั้นจะเปลี่ยนสีหรือไม่  อย่างไร
5.  เด็กๆ ช่วยกันนำดอกไม้ที่ได้มาใส่ถุงคั้นให้ละเอียด  เติมน้ำลงไป  แล้วกรองน้ำดอกไม้ไว้
          6.  เด็กๆ แต่ละกลุ่มแบ่งน้ำดอกไม้ออกเป็น  4  แก้ว  แก้วใบที่ 1 เก็บไว้เปรียบเทียบ แก้วใบที่
2 – 4  สำหรับหยดน้ำมะนาว  น้ำโซดา  น้ำส้มสายชู  ผลัดเปลี่ยนกันหยดคนละ  3 – 5  หยด
          7.  เด็กๆ นำผลการทดลองสีของน้ำดอกไม้ในแต่ละวันมาเปรียบเทียบสีว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
          ระยะสิ้นสุดโครงงาน
เด็กและครูร่วมกันสรุปกิจกรรม  สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้จากการทำกิจกรรมให้เพื่อนและครูฟัง  สังเกตและบอกการเปลี่ยนแปลงสีของน้ำดอกไม้ได้  เกิดทักษะในการทดลอง  รู้จักรอคอยตามลำดับก่อน – หลัง  สนทนา  แสดงความคิดเห็น  ตอบคำถาม
7.  แผนการดำเนินงาน/ระยะเวลาในการดำเนินงาน
           ระยะเวลาดำเนินโครงงาน  21 – 25  มกราคม  2556  รวม  5  วัน
8.  ผลการปฏิบัติงาน
          จากการทดลองโครงงาน  เรื่อง  ดอกไม้เปลี่ยนสี  ดอกไม้ที่ใช้ในการทดลองได้แก่  ดอกกุหลาบ  ดอกดาวเรือง  และดอกเฟื่องฟ้า  คั้นแล้วผสมน้ำ  กรองน้ำดอกไม้ที่ได้ใส่ในแก้วที่เตรียมไว้  แบ่งน้ำดอกไม้ออกเป็น  4  แก้ว  แก้วใบที่ 1 เก็บไว้เปรียบเทียบ แก้วใบที่ 2 – 4   สำหรับหยดน้ำมะนาว  น้ำโซดา  น้ำส้มสายชู  ผลัดเปลี่ยนกันหยดคนละ 3 – 5 หยด  ผลการทดลองปรากฏว่า  เมื่อคั้นดอกกุหลาบ  จะได้น้ำสีแดงอ่อนๆ  หยดน้ำโซดา เป็นน้ำสีแดงอ่อนๆ เหมือนเดิม หยดน้ำมะนาว เป็นน้ำสีแดง หยดน้ำส้มสายชู เป็นน้ำสีแดงเข้ม  คั้นดอกดาวเรือง  จะได้น้ำสีเหลืองอ่อนๆ  หยดน้ำโซดา  เป็นน้ำสีเหลืองอ่อนๆ เหมือนเดิม  หยดน้ำมะนาว  เป็นน้ำสีเหลือง  หยดน้ำส้มสายชู  เป็นน้ำสีเหลืองเข้ม  คั้นดอกเฟื่องฟ้า  จะได้น้ำสีชมพูอ่อนๆ  หยดน้ำโซดา  เป็นน้ำสีชมพูอ่อนๆ เหมือนเดิม  หยดน้ำมะนาว  เป็นน้ำสีชมพู  หยดน้ำส้มสายชู  เป็นน้ำสีชมพูเข้ม 
 9.  ปัจจัยที่ทำให้วิธีการประสบผลสำเร็จ
          โรงเรียนเรณูวิทยาคารประสบความสำเร็จในการจัดโครงงานดอกไม้หลากสี จนมีผลงานที่เป็นเลิศได้ เนื่องจากมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานดังนี้
          1. ด้านภาวะผู้นำ ผู้บริหารในโรงเรียนมีภาวะผู้นำเพื่อยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น  สร้างภาวะผู้นำทุกระดับให้กับครู เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมและการดำเนินงานต่างๆ ไปด้วยดี
          2. ด้านความร่วมมือ การสนับสนุน และการทำงานเป็นทีม การทำงานร่วมกัน ทั้งผู้ปกครอง นักเรียน ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
          3. การอุทิศเวลา ความรู้ ความสามารถ การติดตามดูแลเอาใจใส่ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในการปฏิบัติหน้าที่เต็มกำลังเต็มความสามารถของคณะครู และบุคลากรในโรงเรียน
          4 การวางแผนการดำเนินงาน มีการวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบส่งผลให้งานดำเนินงานไปตามแผน 
 10.  บทเรียนที่ได้รับ
1.  เด็กๆ สังเกตและบอกการเปลี่ยนแปลงสีของน้ำดอกไม้ได้
2.  เด็กๆ เกิดทักษะในการทดลอง
          3.  เด็กๆ รู้จักรอคอยตามลำดับก่อน – หลัง
4.  เด็กๆ สนทนา  แสดงความคิดเห็น  ตอบคำถาม



ภาพกิจกรรม
  



 

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบการนำเสนอรูปแบบการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)


แบบการนำเสนอรูปแบบการปฏิบัติที่เป็นเลิศ  (Best  Practices)

1. ชื่อผลงาน  การศึกษาความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
                   เกมการศึกษาแบบเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
2. ชื่อผู้นำเสนอผลงาน  นางสาวเยาวลักษณ์  สุริยนต์
โรงเรียนเรณูวิทยาคาร   โทรศัพท์  08 – 3335 – 5929   อีเมลล์  newjazzz@gmail.com
3. หลักการเหตุผล/ความเป็นมา
เกมการศึกษาเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้  ทักษะและช่วยให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน  และยังเป็น 1  ใน  กิจกรรมหลัก  ซึ่งได้แก่  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  กิจกรรมเสริมประสบการณ์  กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  กิจกรรมเสรี  กิจกรรมกลางแจ้ง  และกิจกรรมเกมการศึกษา  นอกจากนี้ยังช่วยฝึกการแก้ปัญหา  การคิดหาเหตุผล  การสังเกตเปรียบเทียบ  การจำแนก  การจัดหมวดหมู่ อันเป็นพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้วย (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2541 : 145)  ซึ่งสอดคล้องกับ พัฒนา  ชัชพงศ์ (2530 :20)  ที่กล่าวว่า  กิจกรรมเกมการศึกษาช่วยฝึกการสังเกตและคิดหาเหตุผล  ฝึกการแยกประเภทและจัดหมวดหมู่ ฝึกการจัดลำดับ  ซึ่งเป็นการทบทวนเนื้อหาที่เรียน และฝึกความรับผิดชอบ  และจากผลการศึกษาของรุ่งระวี  กนกวิบูลย์ศรี (2528 : 58) ได้ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการจำแนกการมองเห็นของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการฝึกทักษะโดยใช้เกมการศึกษา และใช้แบบฝึกหัดพบว่าเกมการศึกษามีผลต่อการฝึกทักษะการจำแนกด้วยการมองเห็นมากกว่าแบบฝึกหัด  ดังนั้นเกมการศึกษาจึงเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้  พัฒนาได้หลายๆ ด้าน  รวมทั้งยังช่วยพัฒนาและเป็นการฝึกทักษะในด้านต่างๆ  อีกทั้งเกมการศึกษายังเป็นสื่อการสอนชนิดหนึ่งที่สอดคล้องกับทฤษฏีการเรียนรู้ของ ธอร์นไดด์  กล่าวคือเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรม  เปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกกระทำด้วยตนเอง 
          ด้วยเหตุผลดังกล่าว  ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมาย  เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเล่นเกมการศึกษาแบบเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมาย  เพื่อส่งเสริมความมีวินัยในเด็กปฐมวัยต่อไป 
4. วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นเกมการศึกษาแบบเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
5. แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและได้นำเสนอตามหัวข้อต่อไปนี้
         5.1  เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัย
                 5.1.1  ความหมายของวินัยในตนเอง
                 5.1.2  ความสำคัญของวินัยในตนเอง
                 5.1.3  คุณลักษณะของความมีวินัยในตนเอง
                 5.1.4  ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้องกับความมีวินัยในตนเอง
                 5.1.5  การส่งเสริมความมีวินัยในตนเอง
                 5.1.6  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความมีวินัยในตนเอง
         5.2   เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเล่นของเด็กปฐมวัย
                 5.2.1  ความหมายของการเล่น
                 5.2.2  ความสำคัญของการเล่น
                 5.2.3  ทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น
                 5.2.4  ประเภทของการเล่น
                 5.2.5  การเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
                 5.2.6  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเล่นทางสังคมของเด็กปฐมวัย
         5.3.  เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเกมและเกมการศึกษา
                 5.3.1  ความหมายของเกม
                 5.3.2  ประเภทของเกม
                 5.3.3  ความหมายของเกมการศึกษา
                 5.3.4  ประเภทของเกมการศึกษา
                 5.3.5  จุดประสงค์ของการจัดเกมการศึกษา
                 5.3.6  หลักการใช้เกมการศึกษา
                 5.3.7  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเกมการศึกษา
6. การดำเนินงาน/กระบวนการ/วิธีการปฏิบัติ
ได้กำหนดการตามลำดับขั้นตอน  ดังต่อไปนี้
6.1  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
6.2  เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
6.3  การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ
6.4  แบบแผนการทดลองและวิธีดำเนินการทดลอง
6.5  การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
7. แผนการดำเนินงาน/ระยะเวลาในการดำเนินงาน
7.1  ทำการสังเกตเด็กก่อนการทดลอง  ด้วยแบบสังเกตความมีวินัยในตนเอง
7.2  ดำเนินการทดลองด้วยตนเอง  โดยกลุ่มตัวอย่างจะได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมาย  ซึ่งทำการทดลองในช่วงกิจกรรมเกมการศึกษาใช้เวลาในการทดลอง  10  สัปดาห์  โดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันจันทร์   วันพุธและวันศุกร์ วันละ 1 ครั้งๆ ละ 20 นาที  ช่วงระหว่างเวลา 14.00 14.20 น.  รวมทั้งสิ้น 30  ครั้ง  จำนวน  30  กิจกรรม  โดยใน 1 วัน มีการจัดกิจกรรม 1 กิจกรรม
7.3  เมื่อดำเนินการทดลองครบ 10  สัปดาห์  ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลอง กับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสังเกตและแบบทดสอบฉบับเดียวกันกับที่ใช้ก่อนการทดลอง

8. ผลการปฏิบัติงาน  ส่งผลต่อการพัฒนาความเปลี่ยนแปลง
        8.1 เด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมายก่อนกับหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเด็กมีวินัยในตนเองสูงขึ้น  โดยหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมายเด็กมีวินัยในตนเองสูงขึ้นก่อนการทดลอง  มีการแสดงความคิดเห็นในกลุ่มของตน ซึ่งจากการจัดกิจกรรมจึงทำให้เด็กเกิดการรับรู้ได้ดี เด็กได้เรียนรู้ในการเล่นเกมการศึกษาร่วมกับผู้อื่น เมื่อเล่นเสร็จมีการสรุป  เด็กได้ทำการวางแผนร่วมกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน  การเล่นและทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อน  เด็กได้เล่นและช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน  รอคอยจนกว่าที่จะถึงคิวของตนเอง
        8.2 พ่อ  แม่  ผู้ปกครอง
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมายก่อนกับหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเด็กมีวินัยในตนเองสูงขึ้น  โดยหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมายเด็กมีวินัยในตนเองสูงขึ้นก่อนการทดลอง  เมื่ออยู่ที่บ้านพบว่าเด็กสามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้อย่างง่ายๆ เช่น เก็บกระเป๋าและเสื้อผ้าของตนเองเมื่อกลับถึงบ้าน  ทำงานที่ได้รับมอบหมายจนเสร็จ  เก็บสีและของเล่นทุกครั้งเมื่อเล่นเสร็จ  รู้จักแบ่งปันสิ่งของให้ผู้อื่น  ช่วยพ่อ แม่ทำงานบ้านเท่าที่ตนเองสามารถช่วยเหลือได้
        8.3 อื่นๆ
        เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมายก่อนกับหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเด็กมีวินัยในตนเองสูงขึ้น  โดยหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมายเด็กมีวินัยในตนเองสูงขึ้นก่อนการทดลอง  พบว่า  ขณะที่อยู่โรงเรียนเด็กรู้จักรอคอยตามลำดับก่อน - หลัง  เข้าแถวรอรับน้ำและอาหาร  เมื่อทานอาหารเสร็จเด็กๆ เก็บจานและแก้วน้ำของตนเองไปไว้ในบริเวณที่ทางโรงเรียนเตรียมไว้ 
9. ปัจจัยที่ทำให้วิธีการประสบผลสำเร็จ
9.1  เนื่องจากเกมการศึกษาเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้การคิด การวางแผนในการเล่น มีการสนทนาโต้ตอบกันระหว่างเด็กกับเด็ก  เด็กกับครู  มีการแสดงความคิดเห็นในกลุ่มของตน ซึ่งจากการจัดกิจกรรมจึงทำให้เด็กเกิดการรับรู้ได้ดี เด็กได้เรียนรู้ในการเล่นเกมการศึกษาร่วมกับผู้อื่น เมื่อเล่นเสร็จมีการสรุป 
          9.2  เนื่องจากการจัดกิจกรรมเกมการศึกษานั้นให้เด็กได้ทำการวางแผนร่วมกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน  การเล่นและทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อน  เด็กได้เล่นและช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน  รอคอยจนกว่าที่จะถึงคิวของตนเอง
          9.3  การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเป็นสิ่งที่เด็กชื่นชอบ ตอบสนองต่อความต้องการต้องการของเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อน  มีการสนทนาโต้ตอบ เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับเด็ก
          9.4  การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเป็นกิจกรรมที่เด็กได้เรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อน  เคารพกฎกติกา  มีการวางแผนในการเล่น  และการเล่นร่วมกับเพื่อน 
10. บทเรียนที่ได้รับ
1.  ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยจึงควรจัดกิจกรรมเกมการศึกษาให้เด็กได้เลือกเล่นอย่างหลากหลาย ในช่วงกิจกรรมเกมการศึกษา ให้เด็กได้เลือก ซึ่งกิจกรรมเกมการศึกษาที่จัดขึ้นตามหน่วยการเรียนแต่ละหน่วยจะมีจุดเด่นและจุดสนใจที่แตกต่างกัน เด็กจะมีความสนใจและมีปฏิสัมพันธ์ทั้งกับสื่ออุปกรณ์และเพื่อนได้เป็นอย่างดี ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยจึงควรเลือกสื่อให้เหมาะสม
2.  ในการนำเกมการศึกษาไปใช้ในการสอนนั้นครูต้องนำมาปรับให้เหมาะกับวัยของเด็ก  และในขณะเดียวกันครูควรอธิบายให้ทราบถึงวิธีการเล่นเกมการศึกษาอย่างมีจุดมุ่งหมาย  โดยมีการวางแผนในการเล่นทุกครั้ง

ภาพกิจกรรม









วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โรงเรียนเรณูวิทยาคาร

อักษรย่อ                                      ..
ปรัชญาโรงเรียน                          การศึกษาคือการพัฒนาชีวิต
คำขวัญโรงเรียน                          เคร่งวินัย   ใฝ่ศึกษา  กีฬาเด่น   เน้นคุณธรรม
สีประจำโรงเรียน                        คือ  สีขาวแดง
                                                   สีขาว  หมายถึง   ความบริสุทธิ์แห่งภูมิปัญญา และความเป็นผู้มีคุณธรรม
                                                   สีแดง   หมายถึง   ความแข็งแกร่งแห่งร่างกาย
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน          รูปพระธาตุเรณู และ มีปรัชญาโรงเรียนอยู่ด้านล่างองค์พระธาตุ
วิสัยทัศน์
       โรงเรียนเรณูวิทยาคารเป็นโรงเรียนน่าอยู่ ครูมืออาชีพ  นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน  ก้าวทันเทคโนโลยี  สืบสานประเพณี  ชุมชนมีส่วนร่วม  ส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิตน้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ
       1.  จัด ส่งเสริม สนับสนุนและประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนของสังคมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง
       2.  พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ขององค์กร รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีคุณภาพ
       3.  ยกระดับขีดความสามารถของผู้เรียนเต็มตามศักยภาพและมุ่งสู่มาตรฐานสากล
เป้าหมาย
       1.  ประชาชนวัยเรียนทุกคนทั้งปกติ พิการ และด้อยโอกาสได้รับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี  ตามสิทธิอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง 
       2.  ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
       3.  สถานศึกษามีความเข้มแข็งในการบริหารและการจัดการ
กลยุทธ์
       กลยุทธ์ที่ 1   พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
       กลยุทธ์ที่ 2   ปลูกฝังคุณธรรม  ความสำนึกในความเป็นไทย  และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
       กลยุทธ์ที่ 3   ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
       กลยุทธ์ที่ 4   พัฒนาครูและบุคลากรทั้งระบบ
       กลยุทธ์ที่ 5   พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา