วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบการนำเสนอรูปแบบการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)


แบบการนำเสนอรูปแบบการปฏิบัติที่เป็นเลิศ  (Best  Practices)

1. ชื่อผลงาน  การศึกษาความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
                   เกมการศึกษาแบบเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
2. ชื่อผู้นำเสนอผลงาน  นางสาวเยาวลักษณ์  สุริยนต์
โรงเรียนเรณูวิทยาคาร   โทรศัพท์  08 – 3335 – 5929   อีเมลล์  newjazzz@gmail.com
3. หลักการเหตุผล/ความเป็นมา
เกมการศึกษาเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้  ทักษะและช่วยให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน  และยังเป็น 1  ใน  กิจกรรมหลัก  ซึ่งได้แก่  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  กิจกรรมเสริมประสบการณ์  กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  กิจกรรมเสรี  กิจกรรมกลางแจ้ง  และกิจกรรมเกมการศึกษา  นอกจากนี้ยังช่วยฝึกการแก้ปัญหา  การคิดหาเหตุผล  การสังเกตเปรียบเทียบ  การจำแนก  การจัดหมวดหมู่ อันเป็นพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้วย (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2541 : 145)  ซึ่งสอดคล้องกับ พัฒนา  ชัชพงศ์ (2530 :20)  ที่กล่าวว่า  กิจกรรมเกมการศึกษาช่วยฝึกการสังเกตและคิดหาเหตุผล  ฝึกการแยกประเภทและจัดหมวดหมู่ ฝึกการจัดลำดับ  ซึ่งเป็นการทบทวนเนื้อหาที่เรียน และฝึกความรับผิดชอบ  และจากผลการศึกษาของรุ่งระวี  กนกวิบูลย์ศรี (2528 : 58) ได้ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการจำแนกการมองเห็นของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการฝึกทักษะโดยใช้เกมการศึกษา และใช้แบบฝึกหัดพบว่าเกมการศึกษามีผลต่อการฝึกทักษะการจำแนกด้วยการมองเห็นมากกว่าแบบฝึกหัด  ดังนั้นเกมการศึกษาจึงเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้  พัฒนาได้หลายๆ ด้าน  รวมทั้งยังช่วยพัฒนาและเป็นการฝึกทักษะในด้านต่างๆ  อีกทั้งเกมการศึกษายังเป็นสื่อการสอนชนิดหนึ่งที่สอดคล้องกับทฤษฏีการเรียนรู้ของ ธอร์นไดด์  กล่าวคือเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรม  เปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกกระทำด้วยตนเอง 
          ด้วยเหตุผลดังกล่าว  ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมาย  เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเล่นเกมการศึกษาแบบเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมาย  เพื่อส่งเสริมความมีวินัยในเด็กปฐมวัยต่อไป 
4. วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นเกมการศึกษาแบบเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
5. แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและได้นำเสนอตามหัวข้อต่อไปนี้
         5.1  เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัย
                 5.1.1  ความหมายของวินัยในตนเอง
                 5.1.2  ความสำคัญของวินัยในตนเอง
                 5.1.3  คุณลักษณะของความมีวินัยในตนเอง
                 5.1.4  ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้องกับความมีวินัยในตนเอง
                 5.1.5  การส่งเสริมความมีวินัยในตนเอง
                 5.1.6  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความมีวินัยในตนเอง
         5.2   เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเล่นของเด็กปฐมวัย
                 5.2.1  ความหมายของการเล่น
                 5.2.2  ความสำคัญของการเล่น
                 5.2.3  ทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น
                 5.2.4  ประเภทของการเล่น
                 5.2.5  การเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
                 5.2.6  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเล่นทางสังคมของเด็กปฐมวัย
         5.3.  เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเกมและเกมการศึกษา
                 5.3.1  ความหมายของเกม
                 5.3.2  ประเภทของเกม
                 5.3.3  ความหมายของเกมการศึกษา
                 5.3.4  ประเภทของเกมการศึกษา
                 5.3.5  จุดประสงค์ของการจัดเกมการศึกษา
                 5.3.6  หลักการใช้เกมการศึกษา
                 5.3.7  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเกมการศึกษา
6. การดำเนินงาน/กระบวนการ/วิธีการปฏิบัติ
ได้กำหนดการตามลำดับขั้นตอน  ดังต่อไปนี้
6.1  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
6.2  เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
6.3  การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ
6.4  แบบแผนการทดลองและวิธีดำเนินการทดลอง
6.5  การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
7. แผนการดำเนินงาน/ระยะเวลาในการดำเนินงาน
7.1  ทำการสังเกตเด็กก่อนการทดลอง  ด้วยแบบสังเกตความมีวินัยในตนเอง
7.2  ดำเนินการทดลองด้วยตนเอง  โดยกลุ่มตัวอย่างจะได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมาย  ซึ่งทำการทดลองในช่วงกิจกรรมเกมการศึกษาใช้เวลาในการทดลอง  10  สัปดาห์  โดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันจันทร์   วันพุธและวันศุกร์ วันละ 1 ครั้งๆ ละ 20 นาที  ช่วงระหว่างเวลา 14.00 14.20 น.  รวมทั้งสิ้น 30  ครั้ง  จำนวน  30  กิจกรรม  โดยใน 1 วัน มีการจัดกิจกรรม 1 กิจกรรม
7.3  เมื่อดำเนินการทดลองครบ 10  สัปดาห์  ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลอง กับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสังเกตและแบบทดสอบฉบับเดียวกันกับที่ใช้ก่อนการทดลอง

8. ผลการปฏิบัติงาน  ส่งผลต่อการพัฒนาความเปลี่ยนแปลง
        8.1 เด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมายก่อนกับหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเด็กมีวินัยในตนเองสูงขึ้น  โดยหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมายเด็กมีวินัยในตนเองสูงขึ้นก่อนการทดลอง  มีการแสดงความคิดเห็นในกลุ่มของตน ซึ่งจากการจัดกิจกรรมจึงทำให้เด็กเกิดการรับรู้ได้ดี เด็กได้เรียนรู้ในการเล่นเกมการศึกษาร่วมกับผู้อื่น เมื่อเล่นเสร็จมีการสรุป  เด็กได้ทำการวางแผนร่วมกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน  การเล่นและทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อน  เด็กได้เล่นและช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน  รอคอยจนกว่าที่จะถึงคิวของตนเอง
        8.2 พ่อ  แม่  ผู้ปกครอง
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมายก่อนกับหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเด็กมีวินัยในตนเองสูงขึ้น  โดยหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมายเด็กมีวินัยในตนเองสูงขึ้นก่อนการทดลอง  เมื่ออยู่ที่บ้านพบว่าเด็กสามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้อย่างง่ายๆ เช่น เก็บกระเป๋าและเสื้อผ้าของตนเองเมื่อกลับถึงบ้าน  ทำงานที่ได้รับมอบหมายจนเสร็จ  เก็บสีและของเล่นทุกครั้งเมื่อเล่นเสร็จ  รู้จักแบ่งปันสิ่งของให้ผู้อื่น  ช่วยพ่อ แม่ทำงานบ้านเท่าที่ตนเองสามารถช่วยเหลือได้
        8.3 อื่นๆ
        เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมายก่อนกับหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเด็กมีวินัยในตนเองสูงขึ้น  โดยหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบเล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีจุดมุ่งหมายเด็กมีวินัยในตนเองสูงขึ้นก่อนการทดลอง  พบว่า  ขณะที่อยู่โรงเรียนเด็กรู้จักรอคอยตามลำดับก่อน - หลัง  เข้าแถวรอรับน้ำและอาหาร  เมื่อทานอาหารเสร็จเด็กๆ เก็บจานและแก้วน้ำของตนเองไปไว้ในบริเวณที่ทางโรงเรียนเตรียมไว้ 
9. ปัจจัยที่ทำให้วิธีการประสบผลสำเร็จ
9.1  เนื่องจากเกมการศึกษาเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้การคิด การวางแผนในการเล่น มีการสนทนาโต้ตอบกันระหว่างเด็กกับเด็ก  เด็กกับครู  มีการแสดงความคิดเห็นในกลุ่มของตน ซึ่งจากการจัดกิจกรรมจึงทำให้เด็กเกิดการรับรู้ได้ดี เด็กได้เรียนรู้ในการเล่นเกมการศึกษาร่วมกับผู้อื่น เมื่อเล่นเสร็จมีการสรุป 
          9.2  เนื่องจากการจัดกิจกรรมเกมการศึกษานั้นให้เด็กได้ทำการวางแผนร่วมกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน  การเล่นและทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อน  เด็กได้เล่นและช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน  รอคอยจนกว่าที่จะถึงคิวของตนเอง
          9.3  การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเป็นสิ่งที่เด็กชื่นชอบ ตอบสนองต่อความต้องการต้องการของเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อน  มีการสนทนาโต้ตอบ เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับเด็ก
          9.4  การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเป็นกิจกรรมที่เด็กได้เรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อน  เคารพกฎกติกา  มีการวางแผนในการเล่น  และการเล่นร่วมกับเพื่อน 
10. บทเรียนที่ได้รับ
1.  ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยจึงควรจัดกิจกรรมเกมการศึกษาให้เด็กได้เลือกเล่นอย่างหลากหลาย ในช่วงกิจกรรมเกมการศึกษา ให้เด็กได้เลือก ซึ่งกิจกรรมเกมการศึกษาที่จัดขึ้นตามหน่วยการเรียนแต่ละหน่วยจะมีจุดเด่นและจุดสนใจที่แตกต่างกัน เด็กจะมีความสนใจและมีปฏิสัมพันธ์ทั้งกับสื่ออุปกรณ์และเพื่อนได้เป็นอย่างดี ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยจึงควรเลือกสื่อให้เหมาะสม
2.  ในการนำเกมการศึกษาไปใช้ในการสอนนั้นครูต้องนำมาปรับให้เหมาะกับวัยของเด็ก  และในขณะเดียวกันครูควรอธิบายให้ทราบถึงวิธีการเล่นเกมการศึกษาอย่างมีจุดมุ่งหมาย  โดยมีการวางแผนในการเล่นทุกครั้ง

ภาพกิจกรรม